top of page

กิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์ : สานฝันปันดนตรี ณ โรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติ
ภายใต้โครงการพัฒนานักศึกษาสู่การพัฒนาวิชาชีพทางด้านดนตรี

QR Code สำหรับ E-Book

กิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์: สานฝันปันดนตรี ภายใต้โครงการพัฒนานักศึกษาสู่การพัฒนา วิชาชีพทางด้านดนตรีที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5 - 7 มกราคม พ.ศ. 2560 ณ โรงเรียนมัธยมกัลยาณิ วัฒนาเฉลิมพระเกียรติ อําเภอกัลยาณิวัฒนา (เดิมชื่ออําเภอบ้านวัดจันทร์) จังหวัดเชียงใหม่ จัดทํา โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมผ่านเสียง ดนตรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้ทักษะในการปฏิบัติงาน นําองค์ความ รู้และทักษะทางด้านดนตรีต่างๆ มาประยุกต์ใช้และถ่ายทอดไปสู่นักเรียนโรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนา เฉลิมพระเกียรติ ผ่านเสียงดนตรีและกิจกรรมสร้างสรรค์ โดยในท้ายที่สุดแล้วได้ผลลัพธ์เป็นบท ประพันธ์เพลง 8 บทเพลงและได้จดบันทึกเพลงท้องถิ่นอีก 7 บทเพลง รวมแล้วจํานวน15 บทเพลง

นักศึกษาและคณะทํางานเดินทางถึงโรงเรียนมัธยมกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติในเช้าวันที่ 6 มกราคม กิจกรรมแรกคือการทักทายทําความรู้จัก โดยเริ่มจากนักศึกษาเรียนรู้ภาษาท้องถิ่น ตามด้วยกิจกรรมดนตรีที่สนุกสนานโดยเน้นเรื่องของจังหวะและการฟัง ได้แก่การส่งวัตถุตามจังหวะ ปรบมือตามที่ได้ยินและการทํา Body Percussion ก่อนจะนําไปสู่การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อร้องทํานอง เพลง "แมงมุมลาย" และเลือกพี่ประจํากลุ่ม (นักศึกษา) สําหรับทํากิจกรรมต่อไป ในช่วงที่สองของ กิจกรรมครึ่งเช้านั้น นักศึกษาร่วมมือกับน้องๆ ในกลุ่มถ่ายทอดเรื่องราวออกมาเป็นบทเพลงที่ ประพันธ์ใหม่ขึ้น ซึ่งอาศัยการพูดคุยเป็นหลัก ในช่วงบ่ายนักศึกษา ต้องไปเรียนเพลงท้องถิ่นมากลุ่มละ หนึ่งเพลง (บันทึกทํานอง คําร้องและความหมาย) โดยมีน้องๆ เป็นผู้สอนหรือนําพวกเราไปสํารวจ ชุมชน ตอนเย็นเป็นการแสดงร่วมกันระหว่างนักศึกษาสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนากับนักเรียน โรงเรียนกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติโดยมีคนในชุมชนเข้าร่วมด้วย เช้าของวันที่ 7 มกราคม เป็นการบันทึกเสียงและภาพเคลื่อนไหวของบทเพลงของแต่ละกลุ่ม

ความท้าทายของโครงการนี้มีด้วยกันหลายประการ ได้แก่ 1.) นักศึกษาไม่ทราบรายละเอียดใน การจัดกิจกรรม เช่นจํานวนผู้เข้าร่วม ช่วงวัยของผู้เข้าร่วมและสถานที่ 2.) นักศึกษาแต่ละคนต้องเป็น ผู้นํากลุ่มแต่เพียงลําพัง และ 3.) ต้องสร้างสรรค์ผลงานภายในเวลาจํากัด อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์นั้น จัดว่าประสบความสําเร็จ และที่สําคัญเกิดการเรียนรู้หลากหลายด้าน

ประการแรกคือเป็นประสบการณ์ทางดนตรีที่แตกต่าง ประสบการณ์ทางดนตรีส่วนมากที่ นักศึกษาประสบคือการแสดงดนตรี แต่ในกิจกรรมครั้งนี้นักศึกษาต้องสร้างสรรค์งานดนตรีในมิติของผู้ สร้างและผู้ถ่ายทอดเรื่องราวโดยตรง (ผ่านการเรียนรู้และถ่ายทอดคําพูดของน้องๆ) นอกจากนั้นยังได้ ใช้ทักษะทางดนตรีที่ศึกษามาโดยตลอด เช่นการทํากิจกรรมดนตรีเพื่อประชาสังคม โสตทักษะและการ เล่นด้วยคีตปฏิภาณ

ประการที่สอง คือนักศึกษาได้พัฒนาทักษะสําคัญๆ ในการปฏิบัติงาน เช่นทักษะการเป็นผู้นํา และผู้ตาม การสื่อสาร การทํางานภายใต้ได้แรงกดดันและการทํางานเป็นกลุ่ม

และที่สําคัญคือการได้เปิดใจเพื่อทําความเข้าใจในความเหมือนและความต่างระหว่างนักศึกษา สถาบันฯกับนักเรียนกัลยาณิวัฒนาเฉลิมพระเกียรติในด้านวัฒนธรรมโดยมีดนตรีเป็นสื่อกลาง โดยใน ท้ายที่สุดแล้วนั้นนําไปสู่การเรียนรู้ที่จะใช้วิชาชีพดนตรีเพื่อสร้างการอยู่ร่วมกันในสังคม 

 

bottom of page